ICT เพื่อการศึกษา

เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษา
กลุ่มงานเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา ได้ศึกษากรอบแนวทางในการพัฒนา
โดยได้ค้นคว้าและศึกษาเอกสารเพื่อจะนำมาใช้ในการพัฒนางาน ดังนี้
1. พรบ. การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 กำหนดให้ใช้เทคโนโลยีเพื่อการศึกษา
2. แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 9 (พ.ศ. 2545–2549) กับเทคโนโลยี
3. กรอบนโยบายเทคโนโลยีสารสนเทศระยะ พ.ศ. 2544-2553 ของประเทศไทย
4. แผนแม่บทเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อการศึกษาของ ศธ. (พ.ศ. 2547 –
2549)
5.ทิศทางการบริหารจัดการโดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
1. พรบ. การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 กำหนดให้ใช้เทคโนโลยีเพื่อการศึกษา
พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 หมวด 9 เทคโนโลยีเพื่อการศึกษา ในมาตรา
63-69 ได้กล่าวไว้เกี่ยวกับการใช้เทคโนโลยีเพื่อการศึกษาว่า
ได้กำหนดบทบาทหน้าที่ของรัฐเกี่ยวกับการจัดการด้านเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา
โดยกำหนดขอบเขตครอบคลุมไปถึงการจัดการโครงสร้างพื้นฐาน การพัฒนาบุคลากร การวิจัย
การจัดตั้งกองทุนและหน่วยงานกลางเพื่อวางนโยบายและบริหารงานเกี่ยวกับเทคโนโลยีการศึกษา
2. แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 9 (พ.ศ. 2545–2549) กับเทคโนโลยี
ได้กำหนดยุทธศาสตร์การพัฒนาความเข้มแข็งทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 4 ด้านดังนี้
1) การประยุกต์ใช้และการพัฒนาเทคโนโลยี
2) การพัฒนากำลังคนด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
3) การยกระดับการพัฒนาและใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
4) การบริหารการพัฒนาด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่มุ่งประสิทธิผล
3. กรอบนโยบายเทคโนโลยีสารสนเทศระยะ พ.ศ. 2544-2553 ของประเทศไทย
กรอบนโยบายเทคโนโลยีสารสนเทศระยะ พ.ศ. 2544-2553
ของประเทศไทยได้กำหนดยุทธศาสตร์การพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศ ไว้ 5 ด้าน คือ
ด้านการบริหารงานของรัฐบาล (E-GOVERNMENT) ด้านการพานิชยกรรม (E-COMMERCE)
ด้านการอุตาสาหกรรม (E-INDUSTRY) ด้านการศึกษา (E-EDUCATION) และด้านสังคม(
E-SOCIETY)
โดยได้กำหนดเป้าหมายและยุทธศาสตร์ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการพัฒนาด้านการ
ศึกษา (E-Education) ดังนี้
เป้าหมาย พัฒนาและเตรียมความพร้อมด้านทรัพยากรมนุษย์ในทุกระดับของประเทศ
เพื่อรองรับการพัฒนาสู่การเป็นสังคมแห่งภูมิปัญญาและการเรียนรู้
ยุทธศาสตร์การพัฒนา
1.พัฒนากลไกการบริหารนโยบายและการบริหารจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึก
ษา ที่มีประสิทธิภาพ
2.พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานสารสนเทศเพื่อการศึกษา
ให้เกิดการเข้าถึงอย่างทั่วถึงและเท่าเทียมกัน
3.สนับสนุนและส่งเสริมการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในทุกระดับ
4.เร่งพัฒนาและจัดหาความรู้ (Knowledge) และสาระทางการศึกษา(Content)
ที่มีคุณภาพและมีความเหมาะสม
5.ลดความเหลื่อมล้ำในการเข้าถึงสารสนเทศและความรู้
4.
แผนแม่บทเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ
(พ.ศ. 2547 – 2549)
ได้กำหนดยุทธศาสตร์เพื่อให้บรรลุซึ่งวัตถุประสงค์และเป้าหมายของการพัฒนาเทคโนโลยี
สารสนเทศและ การสื่อสาร อย่างเป็นรูปธรรมภายใต้เงื่อนไขที่เป็นจุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส
และภัยคุกคามของ การพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อการศึกษา
แผนแม่บทเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. 2547–
2549 ไว้ 4 ยุทธศาสตร์ ดังนี้
1. ยุทธศาสตร์ที่ 1 การใช้ ICT เพื่อพัฒนาคุณภาพการเรียนรู้ของผู้เรียน
ส่งเสริม สนับสนุน ให้ผู้เรียนใช้ประโยชน์จาก ICT
เพื่อการเรียนรู้จากแหล่งและวิธีการที่หลากหลาย โดยจัดให้มีการพัฒนาสื่ออิเล็กทรอนิกส์
พัฒนาผู้สอนและบุคลากรทางการศึกษา พัฒนาหลักสูตรให้เอื้อต่อการประยุกต์ใช้ ICT
เพื่อการจัดการเรียนการสอน เพิ่มประสิทธิภาพการเรียนทางไกล
จัดให้มีการศูนย์ข้อมูลสื่ออิเล็กทรอนิกส์ (Courseware center)
ให้มีการเรียนการสอนผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ (e-Learning) จัดทำหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (e -
Book) จัดให้มีห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์ (e-Library)
เพื่อส่งเสริมให้เกิดการเรียนรู้ได้ด้วยตนเองอย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต (Lifelong Learning)
นำไปสู่สังคมแห่งคุณธรรมและสังคมแห่งภูมิปัญญาและการเรียนรู้
2.ยุทธศาสตร์ที่ 2 การใช้ ICT พัฒนาการบริหารจัดการและให้บริการทางการศึกษา
พัฒนาระบบงานคอมพิวเตอร์ ระบบฐานข้อมูลเพื่อการบริหารจัดการ และพัฒนา
บุคลากรทุกระดับที่เกี่ยวข้อง โดยความร่วมมือกับสถาบันอุดมศึกษาที่มีความพร้อมและเอกชน
สร้างศูนย์ปฏิบัติการสารสนเทศ (Operation center)
เชื่อมโยงแลกเปลี่ยนข้อมูลระดับชาติและระดับกระทรวง รวมทั้งส่งเสริมการใช้ ICT
เพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการ และให้บริการทางการศึกษา
ด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ที่สอดคล้องกับการปฏิรูประบบราชการ
3.ยุทธศาสตร์ที่ 3 การผลิตและพัฒนาบุคลากรด้าน ICT
ผลิตและพัฒนาบุคลากร เพื่อรองรับความต้องการกำลังคนด้าน ICT
โดยจัดให้มีการพัฒนาหลักสูตร ICT ในทุกระดับการศึกษา พัฒนาผู้สอนและนักวิจัย
ส่งเสริมการวิจัย และนำผล การวิจัยไปประยุกต์ใช้
รวมทั้งประสานความร่วมมือกับองค์กรของรัฐและเอกชนทั้งในและต่างประเทศ
ในการพัฒนาบุคลากรด้าน ICT เพื่อการพัฒนาการศึกษาและอุตสาหกรรม
4. ยุทธศาสตร์ที่ 4 การกระจายโครงสร้างพื้นฐาน ICT เพื่อการศึกษา
จัดให้มีและกระจายโครงสร้างพื้นฐาน ICT อย่างทั่วถึง
มุ่งเน้นการจัดหาและใช้ทรัพยากรทางด้านเครือข่ายร่วมกัน จัดหาระบบคอมพิวเตอร์
และซอฟต์แวร์ที่ใช้ในการดำเนินการอย่างถูกต้องตามกฎหมาย โดยร่วมมือกับภาครัฐ เอกชน
ชุมชน และท้องถิ่น เตรียมบุคลากรปฏิบัติงานด้าน ICT ให้เพียงพอ รวมทั้งการสร้างมูลค่าเพิ่ม
และการซ่อมบำรุงรักษาอุปกรณ์ ICT ที่มีอยู่ให้มี ประสิทธิภาพในการใช้ปฏิบัติงาน
สาระสำคัญที่กล่าวมาข้างต้นเป็นนโยบายและแผนที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อ
การศึกษา
อันเป็นตัวกำหนดแนวทางในการดำเนินงานเพื่อขับเคลื่อนการปฏิรูปการศึกษาโดยใช้เทคโนโลยีใ
ห้บังเกิดผลตามเจตนารมย์ของการปฏิรูปการศึกษาต่อไป
ในส่วนของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานนั้น
ได้กำหนดแผนแม่บทในการพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษา
ที่ตอบสนองแผนระดับชาติและระดับกระทรวง โดยกำหนดยุทธศาสตร์และเป้าหมาย
โดยกำหนดยุทธศาสตร์ 4 ด้าน คือ
1. ยุทธศาสตร์ที่ 1 จัดหาระบบคอมพิวเตอร์และเครือข่าย
2. ยุทธศาสตร์ที่ 2 พัฒนาและสรรหาบุคลากรด้าน ICT
3. ยุทธศาสตร์ที่ 3 การประยุกต์ใช้ ICT เพื่อพัฒนาการเรียนรู้
4. ยุทธศาสตร์ที่ 4 การประยุกต์ใช้ ICT เพื่อการบริหารจัดการ
ในยุทธศาสตร์ที่ 4 การประยุกต์ใช้ ICT เพื่อการบริหารจัดการนั้น
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานได้จัดให้มีศูนย์ปฏิบัติการด้านเทคโนโลยีและการสื่อ
สาร (ICT Operrating Center) ทุกระดับ
ให้มีการเชื่อมโยงและแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างหน่วยงานภายนอกและหน่วยงานภายใน
รวมทั้งส่งเสริมการใช้ ICTเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารจัดการและให้บริการทางการศึกษา
ให้สอดคล้องกับนโยบายการพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศของรัฐบาล (E-Government)
และด้านการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ ( E- Education) โดยมีเป้าหมาย ดังนี้
1.
มีระบบฐานข้อมูลสำหรับการบริหารจัดการที่เป็นมาตรฐานเดียวกันและสอดรับกับทุกระดับ
2. หน่วยงานทุกระดับมีคลังข้อมูล (Data Warehouse) เพื่อการตัดสินใจ
3. มีการแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้องโดยผ่านระบบเครือข่าย
4. มีศูนย์ปฏิบัติการด้านICT
ระดับสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานและสำนักงานเขตฯ
5. มีระบบเครือข่ายภายในองค์กร (Intranet) เพื่อใช้ในการบริหารงาน
6. หน่วยงานทุกระดับมี Software ที่ถูกกฎหมายสำหรับการบริหารจัดการและพัฒนาระบบ
7. มีโปรแกรมประยุคที่ใช้ในการบริหารงานด้านบุคลากร ด้านบริหารทั่วไป
ด้านงบประมาณ ด้านวิชาการ ด้านติดตามประเมินผล ด้านบริหารกิจการนักเรียนในทุกระดับ
8. มีระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์ (Geographic Information System :GIS)
9. มีเวปไซท์เพื่อการประชาสัมพันธ์และให้บริการข้อมูลข่าวสารของหน่วยงาน
5.ทิศทางการบริหารจัดการโดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
การบริหาร หมายถึง การทำงานให้สำเร็จแต่จะมีกลวิธีใดบ้างที่จะช่วยให้งานสำเร็จได้นั้น
โดยเฉพาะในยุคโลกาภิวัตน์ที่โลกเสมือนเล็กลง (Global Village) ในขณะที่ทรัพยากรธรรมชาติ
และทรัพยากรการผลิตลงด้วยนั้น นักบริหารในระยะหลังๆ นี้
พยายามใช้ยุทธศาสตร์และเทคโนโลยีเพื่อมุ่งบรรลุเรื่อง 3 เรื่อง คือ
หนึ่งใช้คนเท่าเดิมทำงานได้มากขึ้น สองงานเท่าเดิม แต่ใช้คนน้อยลง
และสามคุณภาพของงานต้องดีเท่าเดิม หรือดีกว่า การจะบรรลุเรื่อง 3 เรื่อง ดังกล่าวนั้น
จะต้องใช้ยุทธศาสตร์ คือ
1) การใช้ระบบข้อมูลสารสนเทศ (Information Utilization)
เพื่อประกอบการตัดสินใจให้มากขึ้น
2) การบริหารทางไกล (High-Tech Administration)
3) การหาความรู้ทำงานกับระบบคอมพิวเตอร์ (Computer Literacy)
4) การมองการณ์ไกล (Introspection)
5) การใช้หน่วยงาน/องค์กรอื่นทำงาน (Decentralization)
6) การจัดรูปองค์กรที่ทำงานได้ฉับไว (Organization Development)
7) การพัฒนาบุคลากร (Personnel Development)
ระบบสารสนเทศทางการศึกษา
ความหมายของระบบ
ระบบ (System) คือ ชุดขององค์ประกอบซึ่งมีปฏิสัมพันธ์
ต่อกันในรูปของความเป็นหนึ่งเดียวและ ดำเนินงานร่วมไปสู่เป้าหมายเดียวกัน
ประกอบด้วยส่วนสำคัญสี่ประการ คือ
1. ข้อมูลนำเข้า (Input)
2. กระบวนการประมวลผล (Process)
3. ผลลัพธ์ (Input)
4. การควบคุมการย้อนกลับ (Feedback Control)
ความหมายของระบบสารสนเทศ
ระบบสารสนเทศ (Information System) หมายถึง ชุดของคน ข้อมูล และวิธีการ
ซึ่งทำงานร่วมกัน เพื่อให้เกิดความสำเร็จตามเป้าหมายที่วางไว้ หรือ สารสนเทศ
คือข้อมูลที่ผ่านการประมวลผล บวก ลบ คูณ หาร
เปรียบเทียบหรือตรวจสอบแล้วมีความชัดเจนขึ้น สามารถนำมาใช้ในการพิจารณาตัดสินใจ
หรือดำเนินการใด ๆ ต่อไปได้ สารสนเทศจะถูกนำเสนอในรูปอัตราส่วน ร้อยละ การเปรียบเทียบ
เช่น
- อัตราครูต่อนักเรียน
- การเปรียบเทียบงบประมาณที่ได้รับปัจจุบันกับอดีต
- การเปรียบเทียบผลการดำเนินการนับแต่เริ่มโครงการ
- การเปรียบเทียบผลกำไรต่อการลงทุน
ทรัพยากรที่สำคัญที่สุดขององค์การคือคน คนคือผู้สร้างงานผลิต เป็นผู้ใช้บริการ
เป็นผู้แก้ปัญหา และเป็นผู้ตัดสินใจ คนที่มีคุณภาพจะเป็นกระดูกสันหลังขององค์การ
ประเภทของระบบสารสนเทศ
1. ระบบประมวลผลธุรกรรม (Transaction Processing System : TPS)
เป็นเครื่องมือของผู้บริหารระดับปฏิบัติการ (Operating Manager) เช่น ระบบสารสนเทศการบัญชี
2. ระบบสารสนเทศการจัดการ (Management Information System : MIS)
เป็นเครื่องของผู้บริหารระดับสั่งการ หรือระดับกลาง (Tactical Manager) มี 3 ประเภท คือ
- รายงานตามตารางการผลิต
- รายงานตามต้องการ
- รายงานพิเศษ
3. ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ (Decision Support System: DSS)
เป็นเครื่องมือของผู้บริหารระดับนโยบาย หรือระดับสูง (Strategic Manager)
และผู้บริหารระดับสั่งการหรือระดับกลาง (Tactical Manager)
4. ระบบการสนับสนุนระดับนโยบาย (Executive Support System : ESS)
จำเป็นมากสำหรับการบริหารระดับสูง การพัฒนาระบบสารสนเทศ โดยใช้
วัฏจักรของการพัฒนาระบบ SDLC เป็นการติดต่อสื่อสารอย่างต่อเนื่องชัด
บุคลากรในระบบสารสนเทศ
1. ผู้ใช้ (User) ได้แก่บุคคลซึ่งใช้ระบบสารสนเทศเมื่อมีการนำออกมาใช้ ได้แก่
ผู้ใช้คอมพิวเตอร์ และผู้จัดการ
2. นักวิเคราะห์ระบบ (System Analyst) จะทำงานร่วมกับผู้ใช้
เพื่อตรวจสอบความจำเป็นที่ต้องใช้สารสนเทศในกระบวนการของผู้ใช้
3. นักออกแบบระบบ (System Designer)
เป็นผู้ออกแบบระบบให้ตรงกับความจำเป็นความต้องการของผู้ใช้
4. นักเขียนโปรแกรม (Programmer) ใช้โปรแกรม
เพื่อรหัสคำสั่งสำหรับให้คอมพิวเตอร์แก้ปัญหาได้
ระบบสารสนเทศทางการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ(EIS)
โปรแกรมระบบสารสนเทศทางการศึกษาได้ถูกออกแบบมาเพื่อรองรับกับรูปแบบการทำงา
นที่หลากหลาย โดยสามารถที่ใช้งานบนระบบเครือข่ายที่เป็น Client/Server ,LAN (Netware,
WindowsNT) ตัวโปรแกรมเป็นระบบเปิด (Open System)
สามารถเชื่อมต่อกับฐานข้อมูลได้มากมาย ไม่ว่าจะเป็น Microsoft SQL, Informix
โปรแกรมระบบสารสนเทศทางการศึกษา แบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ ส่วนสำหรับผู้ดูแลระบบ
(Administrator) และส่วนสำหรับผู้ใช้ (User)
ส่วนผู้ดูแลระบบจะมีหน้าที่กำหนดการเชื่อมต่อฐานข้อมูล กำหนดผู้ใช้และคอยดูแล
ให้การใช้งานโปรแกรมเป็นไปอย่างราบรื่น ส่วนของผู้ใช้นั้น
จะมีส่วนกรอกข้อมูลสถิติทางการศึกษา โปรแกรมระบบสารสนเทศทางการศึกษา
ได้ถูกแบ่งโปรแกรมออกเป็น 7 ระบบ คือ
1.ระบบสารสนเทศทางการศึกษาสำหรับสถานศึกษา (EIS1)
เป็นระบบสำหรับกรอกข้อมูลของสถานศึกษาทุกสังกัดตามแบบ รศ.รค.
เพื่อประมวลผลส่งให้กับหน่วยงานระดับสูงขึ้นไป
2.ระบบบริหารสถานศึกษา (EIS2) เป็นระบบที่ใช้ในงานบริหารของสถานศึกษา
3.ระบบสารสนเทศทางการศึกษาสำหรับหน่วยงานระดับอำเภอ (EIS3)
เป็นระบบสำหรับกรอกข้อมูลของอำเภอตามแบบ รศภ.
เพื่อประมวลผลส่งให้กับหน่วยงานระดับสูงขึ้นไป
4.ระบบสารสนเทศทางการศึกษาสำหรับหน่วยงานระดับจังหวัด(EIS4)
เป็นระบบสำหรับรวบรวมข้อมูลสารสนเทศของอำเภอที่อยู่ในจังหวัดนั้นๆ
และประมวลผลข้อมูลเพื่อส่งต่อให้กับหน่วยงานเขตและกระทรวงศึกษาธิการ
5.ระบบสารสนเทศทางการศึกษาสำหรับหน่วยงานระดับเขตการศึกษา(EIS5)เป็นระบบสำ
หรับรวบรวมข้อมูลสารสนเทศของจังหวัดที่อยู่ในเขตการศึกษานั้นๆ
และประมวลผลข้อมูลเพื่อส่งต่อให้กับกระทรวงศึกษาธิการ
6.ระบบสารสนเทศทางการศึกษาสำหรับหน่วยงานระดับกระทรวงศึกษาธิการ(EIS6)
เป็นระบบสำหรับรวบรวมข้อมูลสารสนเทศของจังหวัด
และประมวลผลข้อมูลในภาพรวมของกระทรวงศึกษาธิการ
7.ระบบประมวลผลข้อมูล (EIS7)
เป็นระบบสำหรับประมวลผลข้อมูลสารสนเทศของกระทรวงศึกษาธิการเพื่อเผยแพร่ออกสู่
Homepage MOENet
การพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษาของ ศธ. ตามกรอบนโยบายด้าน ICT
กระทรวงศึกษาธิการสนองนโยบายของรัฐบาลที่จะพัฒนาระบบเทคโนโลยีการศึกษาและเ
ครือข่ายสารสนเทศ
เพื่อเพิ่มและกระจายโอกาสทางการศึกษาให้คนไทยได้รับโอกาสอย่างเท่าเทียมกันและเข้าถึงการเรีย
นรู้ โดยยึดหลักการสร้างชาติสร้างคนและสร้างงาน
มีปัญญาเป็นทุนในการสร้างงานและสร้างรายได้ ตั้งแต่รัฐบาลภายใต้การบริหาร ของนายกรัฐมนตรี
(พ ต ท.ทักษิณ ชินวัตร) เข้ามาบริหารประเทศ
พร้อมทั้งได้กำหนดนโยบายเร่งรัดในการพัฒนาและส่งเสริมการใช้ ICTเพื่อการศึกษา
ปัจจุบันการดำเนินงานตามพันธกิจสำคัญได้มีความก้าวหน้าตามลำดับอย่างจริงจังและเป็นรูปธรรม
1.การส่งเสริมให้เด็กและเยาวชนได้พัฒนาขีดความสามารถในการใช้เทคโนโลยีสารสนเท
ศ โดยพัฒนาขีดความสามารถในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
ของนักเรียนและส่งเสริมให้สถานศึกษาทุกแห่งสามารถเชื่อมโยงเครือข่ายเข้าถึงกัน
2. การพัฒนาบุคลากร
โดยกระทรวงศึกษาธิการมีแผนพัฒนาครูและอาจารย์ทุกคนให้มีความรู้ความสามารถมีทักษะในกา
รใช้ ICT และสามารถนำไปประยุกต์ใช้งาน ได้อย่างเหมาะสม
โดยกำหนดหลักสูตรในการพัฒนาไว้ 6 เรื่องหลัก คือ
1) คอมพิวเตอร์และอินเตอร์เน็ตเบื้องต้น
2) IT Network Administration
3) การใช้โปรแกรมระดับ Advance Course
4) การพัฒนาสื่อเนื้อหาการเรียนรู้
5) การใช้โปรแกรมที่พัฒนาขึ้นเพื่อใช้ในการปฏิบัติงาน
6) การฝึกอบรมแกนนำและการฝึกอบรมทางไกลของ สสวท.
3. การพัฒนาสื่อและซอฟต์แวร์
4. การจัดหาและพัฒนาระบบเครือข่ายและคอมพิวเตอร์
5. การพัฒนาระบบข้อมูลและสารสนเทศเพื่อการบริหารและการจัดการ (MIS)
โดยมีการจัดตั้งศูนย์ปฏิบัติการ ได้จัดตั้งศูนย์ปฏิบัติการระดับกระทรวง (MOC)
และเชื่อมโยงกับศูนย์ปฏิบัติการสำนักนายกรัฐมนตรี (PMOC)
พร้อมทั้งจัดให้มีศูนย์ปฏิบัติการระดับกรม (DOC) (ของ สพฐ. คือ ObecDOC)
และศูนย์ปฏิบัติการในระดับเขตพื้นที่การศึกษา( AOC) ศูนย์ปฏิบัติการระดับโรงเรียน (SOC)
เพื่อการติดตามการปฏิรูปการศึกษาและการปฏิบัติงานของหน่วยงานต่าง ๆ
และเชื่อมโยงกับศูนย์ปฏิบัติการสำนักนายกรัฐมนตรี(PMOC) ตามนโยบายรัฐบาล โดยผ่าน
websiteของกระทรวง
6. การศึกษาวิจัยเพื่อการจัดหาระบบสารสนเทศด้านภูมิศาสตร์ (ระบบGIS)
ได้มีโครงการการศึกษาวิจัยเพื่อการจัดหาระบบสารสนเทศด้านภูมิศาสตร์(ระบบGIS)
ที่เหมาะสมเพื่อใช้ในการเรียนการสอนและการบริหารจัดการ ซึ่งผลการศึกษาวิจัยครั้งนี้
กระทรวงจะมีระบบ Software GIS ในลักษณะ Freeware และลักษณะCommercial
ซึ่งเป็นระบบเปิดอย่างละ 1 ระบบ
จิตต์อารีฯกับไอซีที
จากเอกสารที่ได้ศึกษาค้นคว้า พบว่า สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
กระทรวงศึกษาธิการ ได้สรุปและกำหนดยุทธศาสตร์และเป้าหมายไว้ 4 ด้าน ดังนี้
ยุทธศาสตร์ที่ 1 จัดหาระบบคอมพิวเตอร์และเครือข่าย
ยุทธศาสตร์ที่ 2 พัฒนาและสรรหาบุคลากรด้าน ICT
ยุทธศาสตร์ที่ 3 การประยุกต์ใช้ ICT เพื่อพัฒนาการเรียนรู้
ยุทธศาสตร์ที่ 4 การประยุกต์ใช้ ICT เพื่อการบริหารจัดการ
ดังนั้นกลุ่มงานเทคโนโลยีเพื่อการศึกษาได้ยึดถือเป็นแนวในการปฏิบัติงาน
โดยได้แยกภาระกิจงาน/โครงการที่ได้จัดทำสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ทั้ง 4 ดังนี้
ยุทธศาสตร์ งาน/โครงการ หมายเหตุ
1.จัดหาระบบคอมพิวเ
ตอร์และเครือข่าย
1.โครงการซ่อมบำรุงคอมพิวเตอร์พระราชทาน
2.โครงการปรับปรุงห้องสมุดกาญจนาภิเษก
3.โครงการพัฒนาห้องเรียนอิเล็กทรอนิกส์
4.โครงการพัฒนาห้องเรียนคณิตศาสตร์
5.โครงการขยายระบบเครือข่าย
6.โครงการขยายระบบเครือข่ายไร้สาย
7.การพัฒนาระบบอินเตอร์เน็ต
2.พัฒนาและสรรหาบุ
คลากรด้าน ICT
1.งานสรรหาครูอัตราจ้างคอมพิวเตอร์
2.โครงการอบรมการใช้คอมพิวเตอร์เบื้องต้น
3.โครงการอบรมการใช้ระบบเครือข่ายโรงเรียน
4.โครงการจัดทำสื่อคอมพิวเตอร์ด้วยโปรแกรม
SoftChalk LessonBuilder
5.การส่งบุคลากรเข้ารับการอบรมต่าง ๆ
6.โครงการบุคลากรไอซีที 100 เปอร์เซ็นต์
3.การประยุกต์ใช้ ICT
เพื่อพัฒนาการเรียนรู้
1.การค้นคว้าข้อมูลผ่านระบบอินเตอร์เน็ต
2.การใช้โปรแกรมระบบเครือข่ายข้อมูลโรงเรีย
น3
.การใช้โปรแกรมลงทะเบียนใช้บริการคอมพิวเ
ตอร์
4.การใช้คอมพิวเตอร์เพื่อการบันเทิง
ยุทธศาสตร์ งาน/โครงการ หมายเหตุ
4.การประยุกต์ใช้ ICT
เพื่อการบริหารจัดการ
1.การใช้โปรแกรมระบบดูแลช่วยเหลือผู้เรียน
2.การใช้โปรแกรมเก็บคะแนนนักเรียน (Book
Mark)
3.การใช้โปรแกรมห้องสมุด
4.การใช้คอมพิวเตอร์เพื่อการตัดต่อวีดีโอ
5.การใช้โปรแกรมเงินเดือน
6.โครงการส่งงานด้วน Handy Drive
ยุทธศาสตร์ที่ 1
จัดหาระบบคอมพิวเตอร์และเครือข่าย
ยุทธศาสตร์ที่ 2
พัฒนาและสรรหาบุคลากรด้าน ICT
ยุทธศาสตร์ที่ 3
การประยุกต์ใช้ ICT เพื่อพัฒนาการเรียนรู้
ยุทธศาสตร์ที่ 4
การประยุกต์ใช้ ICT เพื่อการบริหารจัดการ
การพัฒนา ICT เพื่อการศึกษา
โรงเรียนศึกษาสงเคราะห์จิตต์อารีฯ ลำปาง
โรงเรียนศึกษาสงเคราะห์จิตต์อารี
ในพระอุปถัมภ์ของสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี
สำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
กระทรวงศึกษาธิการ
ปรับห้องให้กว้างขวางขึ้น
ปรับปรุงอุปกรณ์ใหม่และมีสมรรถนะดีขึ้น
ปรับปรุงห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์ใหม่
มีเจ้าหน้าที่บรรณารักษ์ใช้ ICT ในการให้บริการ
ปรับปรุงห้องเรียนอิเล็กทรอนิกส์ให้ทันสมัยยิ่งขึ้น
เป็นแหล่งเรียนรู้ที่ทันสมัย
ปรับปรุง ICT ห้องศูนย์คณิตศาสตร์
ได้รับการสนับสนุนเงินจากธนาคารกรุงไทย จำกัดมหาชน
ตึกใหม่ที่มีการพัฒนาขยายเครือข่ายอินเตอร์เน็ตและเครือข่ายภายใน
การสืบค้นอินเตอร์เน็ตที่ได้ขยายระบบที่ตึกใหม่
ระบบอินเตอร์เน็ตไร้สายหน้าตึกใหม่ หนึ่งในห้าที่ขยาย
ระบบอินเตอร์เน็ตไร้สายหน้าห้องผู้อำนวยการ หนึ่งในห้าที่ขยาย
Server ที่ขยายรองรับห้องเรียนอิเล็กทรอนิกส์
อินเตอร์เน็ต 2 ระบบ Lease Line และ G-Dot
วิทยากรให้ความรู้คอมพิวเตอร์เบื้องต้นและการใช้โปรแกรมบริหารโรงเรียน
เรียนรู้เทคโนโลยีสมัยใหม่
การใช้งาน ICT ในงานบริหารวิชาการ
บุคลากรใช้งานคอมพิวเตอร์ฝ่ายวิชาการ
ฝ่ายบริหารบุคคลกับ ICT
รอง ผู้อำนวยการใช้ ICT
บุคลากรในฝ่ายใช้ ICT
ICT ในฝ่ายบริหารงบประมาณ
จุดเชื่อมอินเตอร์เน็ต
การใช้งาน ICT ในกลุ่มงานบริหารทั่วไป
รอง ผู้อำนวยการใช้งาน ICT
ธุรการใช้ ICT โหลดหนังสือราชการ
ใช้อินเตอร์เน็ตเพื่อการสืบค้น
ใช้งาน ICT ตามโครงการของ สพฐ.
ใช้โปรแกรมเก็บข้อมูลสถิติเข้าใช้งานห้อง ICT ต่างๆ
ใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ศึกษาค้นคว้า
การประยุกต์ใช้ ICT เพื่อความบันเทิง
การให้ความบันเทิงในงานต่าง ๆ ด้วย ICT
ครู ICT คนใหม่กับห้องใหม่
การใช้งาน ICTในศูนย์คอมพิวเตอร์พระราชทาน

การประยุกต์ ICT เพื่อการศึกษา

กลุ่มงานเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา โรงเรียนศึกษาสงเคราะห์จิตต์อารี
ในพระอุปถัมภ์ของสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี
มีภาระกิจในการบริหารจัดการเกี่ยวกับการนำเทคโนโลยีด้านต่าง ๆ มาใช้เพื่อการศึกษา
ซึ่งประโยชน์ที่ได้รับคือช่วยให้สะดวกต่อทำงาน หาข้อมูล
สามารถนำมาใช้ทำงานให้สะดวกหรือง่ายขึ้นและลดความผิดพลาดสำหรับงานที่ซับซ้อนยุ่งยากได้
จะยกตัวอย่างประโยชน์ICT เช่น การเก็บข้อมูลโต๊ะ เก้าอี้ อุปกรณ์ต่างๆ เป็นต้น
การเก็บข้อมูลของครู อาจารย์ เช่น ระดับขั้น เงินเดือน
และถ้ามีงบประมาณมากๆก็สามารถติดต่อข้อมูลทางเครือข่ายได้ทำให้มีความสะดวกยิ่งขึ้นให้การรั
บรู้ข้อมูลข่าวสารระหว่างครู อาจารย์ และสามารถเก็บข้อมูลของนักเรียนได้อีกด้วย
สำหรับข้อเสียคือการใช้ICTไม่ถูกทางมากกว่าไม่ว่าจะเป็นนักเรียน ครู อาจารย์
หรือผู้บริหารก็ตาม การปกปิดข้อมูล หรือปรับเปลี่ยนข้อมูล
ไม่ว่าจะในทางผลประโยชน์หรือในทางใดก็ตาม ก็เป็นผลเสียในการใช้ ICT ในการศึกษาทั้งสิ้น
สำหรับนักเรียนถ้าใช้ไม่ถูกทางอาจเกิดผลเสียได้เช่นกัน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น