สถิติเพื่องานวิจัย

สถิติ(STATISTICS)
ขอบข่ายของความหมายของคำว่า “สถิติ” มีหลายประเด็นและได้ขยายกว้างขวางออกไปอย่างรวดเร็วจนถึงศตวรรษที่ 20 จากสถิติที่มีความหมายถึงข้อมูลเกี่ยวกับการบริหารของรัฐแล้ว สถิติได้พัฒนาเป็นข้อมูลแสดงสภาพทางเศรษฐกิจและสังคม ข้อมูลที่เป็นตัวชี้วัดให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงของสิ่งที่สนใจ แนวทางในการดำเนินธุรกิจ เช่น ข้อมูลเกี่ยวกับการอากาศยานซึ่งจะมีข้อมูลที่จำเป็นมากมาย ได้แก่ เกี่ยวกับภูมิอากาศ เกี่ยวกับสภาพภูมิประเทศ เกี่ยวกับสภาพของผู้โดยสาร หรือ ข้อมูลทางการแพทย์ เหล่านี้เป็นต้น จนกระทั่งถึงปัจจุบัน วิวัฒนาการทางสถิติศาสตร์ก็มีการพัฒนามากยิ่งขึ้นและเกี่ยวข้องกับเรื่องต่างๆ เกือบทั้งหมด สถิติศาสตร์จึงมีความสำคัญมากขึ้นพร้อมๆ กับการเปลี่ยนแปลงของสังคมในปัจจุบันที่มีความสลับซับซ้อน เพราะยิ่งสังคมมีความสลับซับซ้อนมากขึ้นเพียงไร ก็ยิ่งมีความจำเป็นต้องทำการเก็บข้อมูลเกี่ยวกับสังคมมากขึ้นนั่นเองเพื่อทความเข้าใจในสังคมนั้นอย่างลึกซึ้ง ด้วยเหตุผลดังกล่าวทำให้เราต้องทราบข้อเท็จจริง และความเป็นไปของสังคม จึงจำเป็นต้องใช้เครื่องมืออย่างใดอย่างหนึ่งช่วยในการตัดสินใจ เครื่องมือนี้ก็คือ สถิติ ตัวอย่างเช่น เทคนิคว่าด้วยการสุ่มตัวอย่าง และการประมาณข้อมูลจากตัวอย่างได้ถูกนำมาใช้อย่างกว้างขวางในการเก็บรวบรวมข้อมูลระดับชาติและการรวบรวมข้อมูลเพื่อการวิเคราะห์วิจัยในส่วนที่สนใจ สถิติจัดได้ว่าเป็นทั้งวิทยาศาสตร์ และศิลปะ เช่นเดียวกับคณิตศาสตร์ โดยจะประกอบด้วยกระบวนการที่จะทำให้ได้ข่าวสารต่าง ๆ ในเรื่องที่ต้องการจะศึกษา การจัดเป็นหมวดหมู่และการนำเสนอ ซึ่งมีส่วนของศิลปะมาผสมผสานด้วย และในส่วนที่เป็นกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ จะประกอบด้วยขั้นตอนที่จะทำให้ได้ค่าสังเกตต่าง ๆ ที่เราต้องการศึกษาอย่างเหมาะสม มีเหตุมีผล สามารถตรวจสอบได้ ดังนั้นจึงมีรูปแบบในการวัด หรือการสังเกตมากมาย

ข้อมูล(Data) หมายถึง รายละเอียดที่แสดงคุณสมบัติที่ผู้วิจัยต้องการศึกษาเช่น อายุ รายได้ ยอดขาย เป็นต้น
ระดับของข้อมูล แบ่งเป็น 4 ระดับ
1.นามบัญญัติ (Nominal Scales) คือระดับของข้อมูลที่เป็นการกำหนดชื่อหรือแบ่งแยกประเภทของสิ่งต่างๆ เช่น เบอร์โทรศัพท์ ห้องเรียน อาคารเรียน บ้านเลขที่ เป็นต้น
2.เรียงลำดับ (Ordinal Scales) คือระดับของข้อมูลที่สามารถจัดลำดับความสำคัญของข้อมูลตามความแตกต่างได้ เช่น ชอบมาก ชอบปานกลาง ชอบน้อย ไม่ชอบ เป็นต้น
3.อัตราภาค (Interval Scales) คือระดับของข้อมูลที่เป็นสามารถบอกถึงปริมาณของความแตกต่างของข้อมูลได้ แต่ไม่มีศูนย์แท้ เช่น อุณหภูมิ คะแนนสอบวัดความรู้ ความสูง เป็นต้น
4.อัตราส่วน (Ratio Scales) คือระดับของข้อมูลที่เป็นการบอกถึงปริมาณความแตกต่างของข้อมูลที่มีรายระเอียดมากที่สุดและมีศูนย์แท้ เช่น ระยะทาง น้ำหนัก ความเร็ว เป็นต้น

ข้อมูล แบ่งเป็น 2 ประเภท
1.ข้อมูลเชิงปริมาณ (Quantitative Data) หมายถึง ข้อมูลที่สามารถแสดงในรูปตัวเลขได้ เช่น น้ำหนัก อายุ คะแนน เป็นต้น ยังแบ่งได้ 2 ประเภท
1.ข้อมูลแบบต่อเนื่อง เช่น 25 , 30 , 35 , 12 , 22.3
2.ข้อมูลแบบไม่ต่อเนื่อง เช่น 25–30 , 12.5–22.5
2.ข้อมูลเชิงคุณภาพ (Qualitative Data) หมายถึง ข้อมูลที่ไม่สามารถแสดงในรูปตัวเลขได้ หรือ อาจจะแสดงในรูปตัวเลขได้แต่ไม่สามารถคำนวณในเชิงปริมาณได้ เนื่งจากตัวเลขเหล่านั้นไม่สามารถอธิบายได้ เช่น เพศ สถานภาพ วุฒิการศึกษา เป็นต้นแหล่งข้อมูล
1 ข้อมูลปฐมภูมิ (Primary Data) หมายถึง ข้อมูลที่ผู้วิจัยเป็นผู้เก็บรวบรวมข้อมูลที่สนใจเอง โดยที่อาจจะใช้วิธีเก็บแบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์ การทดลอง เป็นต้น
2.ข้อมูลทุติยภูมิ (Secondary data) หมายถึง ข้อมูลที่ผู้วิจัยไม่ได้เป็นผู้เก็บรวบรวมข้อมูลที่สนใจเอง โดยนำข้อมูลที่ผู้อื่น ๆ เก็บรวบรวมไว้มาใช้


สถิติพรรณนา (Descriptive Statistics) หมายถึง การบรรยายลักษณะของข้อมูล(Data) ที่ผู้วิจัยเก็บรวบรวมจากประชากรหรือกลุ่มตัวอย่างที่สนใจ ซึ่งอาจจะแสดงในรูป ค่าเฉลี่ย มัธยฐาน ฐานนิยม ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ความแปรปรวน เป็นต้น
ลักษณะของข้อมูลที่เก็บแบ่งเป็น 2 ลักษณะ
-ข้อมูลที่ไม่ได้แบ่งกลุ่ม (ungrouped Data) เป็นข้อมูลจากลักษณะของแต่ละหน่วยประชากร หรือ หน่วยตัวอย่าง เช่นข้อมูลอายุของคนกลุ่มหนึ่ง 15 , 18 , 20 , 25 , 23 , 14 , 22 ปี เป็นต้น
-ข้อมูลที่แบ่งกลุ่ม (grouped Data) เป็นข้อมูลที่จัดแบ่งกลุ่มๆ เป็นอันตรภาคชั้น เช่น อายุของคนกลุ่มหนึ่ง คือ 15-20,21-26,27-32 ปี เป็นต้น

กระบวนการทางสถิติ
การนำสถิติไปใช้ประโยชน์มีกระบวนการโดยทั่วไป คือ
1. การวางแผน (Planning) ก่อนจะมีการวางแผนต้องมีหัวข้อเรื่องที่จะศึกษา อาทิ การแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับเรื่องใดเรื่องหนึ่งสมมติเป็นปัญาหาเกี่ยวกับการขาดแคลนที่จอดรถในมหาวิทยาลัย ผู้ที่เป็นเจ้าของปัญหา คือ ผู้บริหารของมหาวิทยาลัย ต้องวางแผนการแก้ปัญหา โดยจัดหาสถานที่ให้พอเพียง โดยต้องมีการวางแผนการสำรวจที่ว่าง ซึ่งจะปรับปรุงเป็นที่จอดรถได้ ในขั้นตอนนี้ต้องกำหนดว่าจะกำหนดวิธีการสำรวจอย่างไรจะใช้อะไรเป็นข้อมูลประกอบการพิจารณาบ้าง ถ้ามีข้อมูลเกี่ยวกับคนเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย ก็ต้องกำหนดว่าจะกำหนดให้ผู้คนประเภทใดบ้างที่จะไปสอบถามรายละเอียด จะใช้จำนวนเท่าใดจึงจะพอดีซึ่งจะต้องไว้ในขั้นตอนนี้ทั้งหมดรวมถึงวิธีการรวบรวมข้อมูล และกำหนดวิธีการทดสอบข้อมูลด้วย ขั้นตอนนี้ถือว่าเป็นขั้นตอนที่สำคัญ ถ้าวางแผนงานได้ดีก็นับว่าทำสำเร็จไปครึ่งหนึ่งแล้ว
2. การเก็บรวบรวมข้อมูล (Collection of Data) เมื่อกำหนดในขั้นตอนที่ 1 แล้วว่าจะนำอะไรมาเป็นข้อมูล ก็จะทำการรวบรวมตามวิธีการสถิติซึ่งจะได้กล่าวต่อไป
3. การนำเสนอข้อมูล (Presentation of Data) เมื่อรวบรวมได้แล้วก็จะนำมาแสดงให้คนเข้าใจ ซึ่งอาจจะแสดงในรูปตารางสถิติ เป็นรูปภาพ หรือเป็นแบบเส้นโค้ง ฯลฯ
4. การวิเคราะห์ข้อมูล (Analysis of Data) เมื่อได้ข้อมูลตามต้องการแล้วก็จะนำมาวิเคราะห์ ซึ่งอาจอยู่ในรูป ค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ ค่าสัดส่วน หรือค่าใดๆ ตามแต่จะกำหนดไว้ในขั้นตอนที่ 1
5. การตีความ (Interpretation of Data) เป็นขั้นตอนสุดท้าย คือ การสรุปผลการวิเคราะห์ในขั้น

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น